ข้อสังเกตและปัญหาของการให้เหตุผลแบบอุปนัย

 

         1.  การสรุปผลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลองหลายๆ ครั้ง ผลสรุปดังกล่าวอาจจะไม่เป็นจริงเสมอไป เช่นจากการพบไข่มุกหลาย ๆ ครั้ง ปรากฏว่าไข่มุกที่พบนั้นมีสีขาว จึงสรุปว่าไข่มุกมีสีขาว ซึ่งการสรุปผลนี้ไม่เป็นจริงเพรามีไข่มุกบางชนิดมีสีชมพูหรือสีเทา

 

           2. การสรุปผลโดยการให้เหตุผลแบบอุปนัยนั้นบางครั้งผลสรุปของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน เพราะผลที่ได้จากการสังเกตต้องขึ้นกับพื้นฐานและประสบการณ์ของผู้สังเกตแต่ละคน เช่น จงพิจารณาการเรียงลำดับจำนวนต่อไปนี้

 

              2, 4, 6, …      จงหาจำนวนที่เรียงต่อจาก 6 มา 2 จำนวน

 

คนที่หนึ่ง       สังเกตการเรียงของ 2, 4, 6 ว่าเป็นการเรียงของจำนวนคู่ ดังนั้น อีก 2 จำนวนถัดไปคือ 8, 10

 

คนที่สอง        สังเกตการเรียงของ 2, 4, 6 ว่า สองจำนวนหน้าบวกกันจะได้จำนวนถัดไป เช่น 6 ได้มาจาก 2+4

 

           แสดงว่า จำนวนที่ถัดจาก 6 ไป          คือ   4+6   = 10

 

           แสดงว่า จำนวนที่ถัดจาก 10 ไป        คือ   6+10 = 16

 

ดังนั้น อีก 2 จำนวนถัดไป คือ 10, 16

 

คนที่สาม       สังเกตการเรียงของ 2, 4, 6 ว่า จำนวนถัดไปต้องเกิดจาก 2 จำนวนหน้าคูณกันแล้วลบด้วย 2

 

เช่น  6 เกิดจาก  2 x 4 – 2

 

           แสดงว่า  จำนวนที่ถัดจาก 6 ไป         คือ     4 x 6 – 2        = 22

 

           แสดงว่า  จำนวนที่ถัดจาก 22 ไป       คือ    6 x 22 -2       = 130

 

ดังนั้น อีก 2 จำนวนถัดไป คือ 22, 130

 

                3.  ข้อมูล หลักฐานหรือข้อเท็จจริงเป็นตัวแทนที่ดีในการให้ข้อสรุปหรือไม่ เช่น ถ้าอยากรู้ว่าคนไทยชอบกินข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวมากกว่ากัน ถ้าถามจากคนที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือหรือภาคอีสาน คำตอบที่ตอบว่าชอบกินข้าวเหนียวอาจจะมีมากกว่าชอบกินข้างเจ้า แต่ถ้าถามคนที่อาศัยอยู่ในภาคกลางหรือภาคใต้ คำตอบอาจจะเป็นในลักษณะตรงข้าม

ที่มาของข้อมูล

https://sites.google.com/site/jubjang2535za/bth-thi-2-kar-hi-hetuphl/1-kar-hi-hetuphl-baeb-xupnay

http://www.thaigoodview.com/node/18026/ข้อสังเกตและปัญหาของการให้เหตุผลแบบอุปนัย

ใส่ความเห็น